เครื่องดื่มบำรุงสมอง เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มโปรตีนเสริมภูมิต้านทาน สำหรับวีแกน ร้าน Pleasantor Thailand กินอย่างไรให้ไม่เป็นโรตไตในอนาคต เป็นโรคไตแล้วควรกินยังไง - keenarry

13ข้อควรรู้กินอย่างไรไม่ให้เป็นโรคไตในอนาคต เป็นโรคไตแล้วควรกินยังไง

Last updated: 18 เม.ย 2564  |  1688 จำนวนผู้เข้าชม  | 

13ข้อควรรู้กินอย่างไรไม่ให้เป็นโรคไตในอนาคต เป็นโรคไตแล้วควรกินยังไง

กินอย่างไรไม่ให้เป็นโรคไต

1.คือกินอย่างไรไม่ให้เค็มจัด ให้โซเดียมรวมแล้วไม่เกิน2000มิลลิกรัมต่อวัน

หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถคลิ๊กเข้าไปที่  เพื่อดูว่าอาหารปริมาณเท่านี้มีโซเดียมอยู่เท่าไร  แล้ววันหนึ่งเราจะกินอะไรบ้าง เพื่อจัดตารางอาหารเพื่อสุขภาพ

2.ไม่กินโปรตีนมากเกินจนไตต้องทำหน้าที่ขจัดของเสียหนักจนเกินไป

3.ไม่กินหวานจัด จะทำให้เซลล์ในไตเสื่อมจากเลือดที่ไปเลี้ยงนั้นมีความหนืดและมีปริมาณกลูโคสสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว

4.ไม่ควรกินอาหารที่มีน้ำตาลทรายเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง ซึ่งจะทำให้ร่างกายชินและติดกับรสชาติหวานของน้ำตาลซูโครสนี้ ซึ่งจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคไต ตามมา  ยิ่งกินหวานยิ่งใกล้โรคค่ะ 

5.คนเป็นโรคเบาหวาน  ก็จะก่อให้เกิดเป็นโรคไตขึ้นมาได้ง่ายกว่าคนที่มีสุขภาพดี เนื่องจาก ความหวานสูงจะทำลายเซลล์หลอดเลือดในไต ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียในไต กรองสารอาหารเพื่อเก็บไปใช้ในร่างกาย 

6.ส่วนความดันโลหิตสูงจะทำให้แรงดันหลอดเลือดที่สูงจะดันเข้าไปในหลอดเลือดเล็กๆซึ่งทำหน้าที่ช่วยกรองสารอาหารในไต  ซึ่งความดันสูงในหลอดเลือดเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อม และทำการกรองในไตได้ไม่ปกติ ก็คือจะเกิดไตเสื่อมขึ้นมานั่นเอง

7.กินอย่างไรให้บำรุงเซลล์ของหน่วยไตให้ทำงานให้แข็งแรงและเป็นปกติ

     คนปกติสามารถทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ในหนึ่งมื้อ มีข้าวหนึ่งส่วน ผักสองส่วน เนื้อสัตว์ไม่ติดมันหนึ่งส่วน  อาจเพิ่มนมพร่องมันเนยอีกหนึ่งแก้ว และผลไม้ชิ้นพอคำ 3-4ชิ้น 

ผลไม้ที่ทานได้ไม่จำกัดปริมาณ เช่น แอ๊ปเปิ้ล ชมพู่ ฝรั่ง แก้วมังกรเป็นต้น ผลไม้ที่ทานจำกัดปริมาณ เช่นผลไม้ที่รสหวานจัดและผลไม้เหล่านี้มักมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งคนเป็นโรคไตจะทานได้ปริมาณน้อยมาก ซึ่งถ้าเป็นโรคไตระยะสี่หรือห้า อาจให้งดผลไม้พวกนี้ไปเลย เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วงสุกสีเหลือง ละมุด สับปะรดเป็นต้น ผลไม้รสหวานอมเปรี้ยว หวานปานกลาง ได้แก่ ส้ม ทานได้มีปริมาณเพราะรสชาติหวานเหมือนกัน  องุ่น ทานได้ในปริมาณน้อย

8.คนที่สุขภาพดีเป็นปกติสามารถทานโปรตีนต่อวันเป็นหน่วยกรัมเท่ากับน้ำหนักตัว เช่นคนสุขภาพดีน้ำหนัก50กิโลกรัมสามารถทานโปรตีนได้ต่อวันเป็นจำนวน50กรัม ก็จะเพียงพอกับความต้องการโปรตีนของร่างกาย     ส่วนคนที่การทำงานของไตไม่ปกติก็จะทานโปรตีนได้ลดลงต่อวัน ไม่ใช่ทาน1กรัมต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัมต่อวัน

แต่ทานได้แค่0.6-0.8กรัมต่อน้ำหนักตัว1กิโลกรัมต่อวัน สามารถดูตารางปริมาณโปรตีนหน่วยเป็นกรัมต่อปริมาณอาหารแต่ละอย่างแล้วนำมาตั้งรายการอาหารประจำวันของเราหรือผู้ป่วยได้

 9.ทานน้ำให้เพียงพอต่อวันคนเราควรรับน้ำปริมาณต่อวันเท่ากับ น้ำหนักตัวคูณสามสิบ เป็นหน่วยมิลลิลิตร  ส่วนคนเป็นโรคไตจะต้องจำกัดปริมาณน้ำที่รับประทานต่อวันด้วย  

10.รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง สามารถตรวจค่าการกรองของไต ซึ่งจะแสดงประสิทธิภาพการกรองของไต  ตรวจค่าBUN(ฺBlood Urea Nitrogen)และครีอะทีนีน เคลียร์แรนซ์(Cr Cl)   และสังเกตจากอาการ คือตัวบวม ขาบวม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ความจำไม่ค่อยดีเหมือนก่อน

11.ไม่ทานครื่องดื่มที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูงทีเดียวในปริมาณมาก ทานได้ให้ควบคุมปริมาณ เช่นโกโก้

12.หลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป เช่น ของหมักดอง แช่อิ่ม อาหารหวานที่เชื่อมน้ำตาล ไส้กรอก แฮม ขนมปัง ผักกาดดอง อาหารกระป๋อง เบเกอรี่ หมูหยอง  แหนม ลูกชิ้น เป็นต้น

13.ไม่ทานอาหารรสชาติหวานจัด มันจัด เค็มจัด  หากทานอาหารรสชาติจัด เช่นส้มตำ ห้ามซดน้ำในจานจนหมด เพราะจะได้โซเดียมเกินแน่นอน ดื่มน้ำแกงก็ไม่ต้องดื่มจนหมดชาม  กินก๋วยเตี๋ยวก็กินน้ำซุปไม่หมดชาม


Powered by MakeWebEasy.com