เครื่องดื่มบำรุงสมอง เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มโปรตีนเสริมภูมิต้านทาน สำหรับวีแกน ร้าน Pleasantor Thailand กรดอะมิโนไลซีน (L-lysine)ดีต่อสมองและอารมณ์อย่างไร - keenarry

กรดอะมิโนไลซีน (L-lysine)ดีต่อสมองและอารมณ์อย่างไร

Last updated: 17 เม.ย 2564  |  1889 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กรดอะมิโนไลซีน (L-lysine)ดีต่อสมองและอารมณ์อย่างไร


แอล-ไลซีน จัดเป็นกรดอะมิโนชนิดจำเป็นหรือเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง แต่เราสามารถได้รับกรดอะมิโนไลซีนได้จากอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วต่างๆ และอาหารเสริมเป็นต้น จากหลายงานวิจัยได้รายงานว่า กรดอะมิโนไลซีนสามารถลดความเครียด ความกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ ยกตัวอย่าง เช่น งานวิจัยในสัตว์ทดลองได้รายงานว่า การรับกรดอะมิโนไลซีนจากอาหารที่ไม่เพียงพอ มีผลทำให้เพิ่มความเครียดได้ [1] นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในหนู พบว่ากรดอะมิโนไลซีนมีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของตัวรับเซโรโทนิน หรือ serotonin receptor 4 (5-HT4) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการลดความกังวลที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน [2] และได้มีงานวิจัยในมนุษย์ ออกมารายงานอีกว่า อาสาสมัครชาวญี่ปุ่นที่มีสุขภาพดีจำนวน 108 คน เมื่อได้รับกรดอะมิโนไลซีนและกรดอะมิโนอาร์จินีนแล้ว มีผลทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดหรือคอร์ติซอล (cortisol) ลดลง ซึ่งเป็นไปได้ว่า การได้รับกรดอะมิโนไลซีนและกรดอะมิโนอาร์จินีน จะสามารถลดความเครียดและคลายกังวลได้ [3], [4] อาจจะสรุปได้ว่าการรับประทานกรดอะมิโนไลซีนเพิ่มขึ้น จะมีประโยชน์ในการลดความกังวลและภาวะซึมเศร้าได้

[1] Smriga, M., Kameishi, M., Uneyama, H., & Torii, K. (2002). Dietary L-lysine deficiency increases stress-induced anxiety and fecal excretion in rats. J Nutr, 132(12), 3744-3746. https://doi.org/10.1093/jn/132.12.3744
[2] Smriga, M., & Torii, K. (2003). L-Lysine acts like a partial serotonin receptor 4 antagonist and inhibits serotonin-mediated intestinal pathologies and anxiety in rats. Proc Natl Acad Sci U S A, 100(26), 15370-15375. https://doi.org/10.1073/pnas.2436556100
[3] Smriga, M., Ando, T., Akutsu, M., Furukawa, Y., Miwa, K., & Morinaga, Y. (2007). Oral treatment with L-lysine and L-arginine reduces anxiety and basal cortisol levels in healthy humans. Biomedical Research, 28(2), 85-90. https://doi.org/10.2220/biomedres.28.85
[4] Lakhan, S. E., & Vieira, K. F. (2010). Nutritional and herbal supplements for anxiety and anxiety-related disorders: systematic review. Nutr J, 9, 42. https://doi.org/10.1186/1475-2891-9-42

Powered by MakeWebEasy.com