เครื่องดื่มบำรุงสมอง เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย เครื่องดื่มโปรตีนเสริมภูมิต้านทาน สำหรับวีแกน ร้าน Pleasantor Thailand ถ้าทานกรดอะมิโนกลูตามีนอย่างเพียงพอจะช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า - keenarry

แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) ดีต่อสมองอย่างไร

Last updated: 17 เม.ย 2564  |  1843 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แอล-กลูตามีน (L-Glutamine) ดีต่อสมองอย่างไร

แอล-กลูตามีน (L-Glutamine)

แอล-กลูตามีน จัดเป็นกรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็นหรือเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง กรดอะมิโนกลูตามีนจะถูกพบในระดับสูงในสมอง กรดอะมิโมกลูตามีนจะถูกสังเคราะห์จากกลูตาเมทโดยเซลล์เอสโตรไซต์ (Astrocyte)  แล้วต่อจากนั้นก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารสื่อประสาทกาบา (GABA) [1]   เมื่อร่างกายขาดกรดอะมิโนกลูตามีนแล้ว ก็ทำให้เกิดภาวะเครียดได้ นอกจากนี้กรดอะมิโนกลูตามีนยังเป็นสารที่ต้านภาวะซึมเศร้า อาจเป็นเพราะกรดอะมิโนกลูตามีนเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทกาบา [2]  ในช่วงปี ค.ศ. 1970 ก็ถูกใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับการลดภาวะซึมเศร้า [2] สำหรับงานวิจัยในสัตว์ทดลอง ก็ได้มีการศึกษาในหนูเพศผู้ พบว่าเมื่อหนูขาดการได้รับกรดอะมิโนกลูตามีนในส่วนสมอง prefrontal cortex อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้[3]  นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าระดับกลูตาเมทหรือกลูตามีน และสารสื่อประสาทกาบาลดลงในพลาสมาของผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าอีกด้วย [4]

 

[1] Albrecht, J., Sidoryk-Węgrzynowicz, M., Zielińska, M., &Aschner, M. (2010). Roles of glutamine in neurotransmission. Neuron Glia Biol, 6(4), 263-276. https://doi.org/10.1017/s1740925x11000093

[2] Cocchi, R. (1976). Antidepressive properties of I-glutamine. Preliminary report. Acta PsychiatrBelg, 76(4), 658-666.

[3] Lee, Y., Son, H., Kim, G., Kim, S., Lee, D. H., Roh, G. S., Kang, S. S., Cho, G. J., Choi, W. S., & Kim, H. J. (2013). Glutamine deficiency in the prefrontal cortex increases depressive-like behaviours in male mice. J Psychiatry Neurosci, 38(3), 183-191. https://doi.org/10.1503/jpn.120024

[4] Hasler, G., van der Veen, J. W., Tumonis, T., Meyers, N., Shen, J., &Drevets, W. C. (2007). Reduced Prefrontal Glutamate/Glutamine and γ-Aminobutyric Acid Levels in Major Depression Determined Using Proton Magnetic Resonance Spectroscopy. Archives of General Psychiatry, 64(2), 193-200. https://doi.org/10.1001/archpsyc.64.2.193


 

Powered by MakeWebEasy.com